คนไทยขี้ร้อนจริงไหม

คนไทยขี้ร้อนจริงไหม กับการดับร้อนแบบไทย ๆ

ความร้อนในสมัยอยุธยานั้นร้อนมาก ทำให้คนในยุคนั้น ไม่ค่อยได้ใช้ความคิดมากเท่าไหร่​ ทั้งที่จริงแล้วคนสยามมีความฉลาด แต่ความร้อนทำให้คนไม่อยากหาความรู้ใหม่ ๆ

นี่เป็นความคิดของ ลาลูแบร์ ราชทูตแห่งฝรั่งเศส ที่ได้เดินทางมาประเทศไทยในสมัยพระนารายณ์ ลาลูแบร์จึงมองว่า อากาศมีผลต่อความคิดของชาวสยามในสมัยอยุธยาที่  ลาลูแบร์อยู่ มีทั้งหมด 3 ฤดูกาล คือหน้าหนาว , หน้าร้อน และหน้าร้อนใหญ่ หน้าร้อนใหญ่ของสยามเป็นฤดูกาลที่ลาลูแบร์ บันทึกไว้ว่าร้อนมาก ๆ ทำให้ชาวสยามสมัยก่อนไม่ใส่เสื้อ นุ่งแค่ผ้าท่อนล่างบาง ๆ ผู้หญิงสยามส่วนใหญ่จะอยู่บ้านไม่ให้ร่างกายร้อนอบอ้าว

ถ้าเมืองไทยสมัยก่อนอากาศร้อนมาก แล้วคนโบราณมีวิธีจัดการกับความร้อนยังไง ?
ปัจจุบันนี้เมื่อเข้าช่วงหน้าร้อนก็จะต้องมีน้ำใส่น้ำแข็งเย็น ๆ เอาไว้กินดับร้อน แต่สมัยโบราณยังไม่มีน้ำแข็ง เพราะน้ำแข็งเริ่มเข้ามาประเทศไทยในรัชกาลที่ 4 แต่น้ำแข็งก็ไม่ได้เข้าถึงคนไทยทุกคนในสมัยนั้น จึงมีการ “กินน้ำเย็นจากตุ่ม” คือการเก็บน้ำไว้ในตุ่มเพื่อให้น้ำมีความเย็น นำมาดื่มและเอาน้ำมาลูบตามลำตัวจากนั้นก็จะปะแป้ง หรือใช้ดินสอพองทาตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นวิธีคลายร้อนแบบดั้งเดิม บ้านไทย วัดไทยในสมัยก่อน จะมีการยกพื้นสูงเพื่อให้มีใต้ถุน มีหลังคาที่เป็นทรงสูง ให้อากาศระบายได้ดี มีลมพัดเข้ามาอยู่ตลอด

คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณมีการกินอาหารที่เรียกว่า “การกินเย็น-กินร้อน” ของกินในสมัยก่อนก็มีช่วยดับร้อนอยู่เหมือนกัน อย่างเช่น ข้าวแช่ , มะม่วงเปรี้ยว , มะดัน ,แตงกวา , กระชาย เป็นการกินให้เหมาะกับสภาพอากาศในฤดูต่าง ๆ ที่จะช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายให้มีความสมดุล คลายความร้อน และให้ความรู้สึกสบายตัวมากขึ้น

ทุกวันนี้มนุษย์มีสิ่งที่ช่วยคลายความร้อนอยู่ใกล้ตัว อย่างพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือภาวะโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ แม้อากาศร้อนในตอนนี้ จะเป็นสิ่งที่เรารับมือได้ แต่การคลายร้อนในอนาคตอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายอีก
Baboonhub

Baboonhub

บริษัทผลิตสื่อที่มีพลังกระตือรือร้น สร้างสรรค์ผลงาน และเล่าเรื่องที่มีความเฉพาะทาง โดยเฉพาะการสื่อสารองค์ความรู้ของผู้คน องค์กร ชุมชน และโครงการ (วิจัย) ระดับประเทศ

Articles: 93