ธรรมชาติมักเป็นแรงบันดาลใจให้กับนวัตกรรมเสมอ! ตะขาบเองก็เช่นกัน แม้หน้าตาอาจไม่ตรงสเป็คมนุษย์ แต่ลักษณะทางกายภาพทำให้มันเป็นนักเดินทางทุกสภาพพื้นผิว นี่เองทำให้เหล่าวิศวกรอิจฉาความสามารถที่แพราวพราว จนเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบหุ่นยนตร์ในอนาคตให้คล้ายตะขาบ เพื่อขนส่งสิ่งของในพื้นที่ทุรกันดาร โดยไม่สูญเสียศักยภาพในการเดินทาง
“ตะขาบ” ไม่ได้มีถึง 100 ขาตามชื่อภาษาอังกฤษ (Centipedes คำว่า Centi มาจากละติน แปลว่า 100) แต่จะมีขาเป็นคู่ ๆ ตามปล้องลำตัว ทำให้มันสามารถเคลื่อนที่ได้หลากหลายท่าทาง เรียกว่าได้ทั้งความเร็ว ความงดงาม และประสิทธิภาพจนวิศวกรมนุษย์ทึ่งและอิจฉา ขาของตะขาบเคลื่อนที่คล้ายเกลียวคลื่น มีความเร็วคงที่ แม้จะเดินทางผ่านทราย ดิน หิน สามารถข้ามสิ่งกีดขวางและช่องว่างได้ ในงานสัมมนาออนไลน์ของ Society of Integrative and Comparative Biology ได้เปิดเผยหุ่นยนตร์ที่จำลองการเคลื่อนที่ของตะขาบ มีขนาดลำตัวยาว 70 เซนติเมตร สามารถเคลื่อนที่ผ่านพื้นผิวที่ไม่เท่ากันได้ นักวิจัยพบว่า การเคลื่อนที่แบบเกลียวคลื่นของตะขาบทำให้หุ่นยนตร์เดินทางได้เร็วกว่าขยับทีละขา ใช้พลังงานน้อยกว่า ในขณะที่หุ่นยนตร์ตะขาบสามารถรับน้ำหนัก payload ได้มากขึ้น เป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจเห็น “หุ่นยนตร์ตะขาบยักษ์” ที่ขนของไปยังพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล โดยไม่ต้องแผ้วถางเส้นทาง ปล่อยให้หุ่นยนตร์ตะขาบเดินทางไปด้วยตัวมันเอง