สมุทรสงครามอยู่ดี

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สถานการณ์ต่างๆ ของโลกมีความผันผวน ไม่แน่นอน ตลอดจนไม่อาจคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงได้ง่ายดายนัก ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดสภาพเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน (Uncertain global economic) ผลกระทบดังกล่าวมีมากยิ่งขึ้นเมื่อถูกเร่งปฏิกิริยาด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ และสภาวะชะงักงัน (Disruption) ด้านต่างๆ

จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาข้างต้นได้ส่งผลต่อกรอบความคิดในการพัฒนาให้หันกลับมามองต้นทุนสำคัญที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติที่เป็นผลมาจากความหลากหลายทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และระบบนิเวศซึ่งสิ่งดังกล่าวเหล่านั้นได้ส่งผลต่อเนื่องไปยังวิถีชีวิต และวัฒนธรรมให้มีความหลากหลายมากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ รัฐบาลโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรรม จึงได้ทำหน้าที่สำคัญในการขับเคลื่อนกรอบเศรษฐกิจใหม่ BCG Economy Framework – (Bio Economy – Circular Economy – Green Economy) เพื่อใช้ต้นทุนด้านต่างๆ ที่ธรรมชาติแวดล้อมได้มอบให้มานั้นอย่างคุ้มค่า เต็มศักยภาพ และขับเคลื่อนตามกรอบแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)

นอกจากนี้ ยังมีแนวความคิดเรื่องการสร้างการรับรู้และสำนึกด้านบวก (Soft Power) ได้ถูกกล่าวถึงอย่างบ่อยครั้ง ซึ่งไม่ได้มีความหมายในมิติทางวัฒนธรรมแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ว่ายังเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีวัฒนธรรมเป็นตัวขับเคลื่อนและปัจจัยหนุนเสริมความสำเร็จ ดังจะเห็นได้ว่า หลายประเทศเร่งผลักดันกระบวนการและกลไกที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดดังกล่าวอย่างเข้มข้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติ ซึ่งยังประโยชน์ในทางการเมืองระหว่างประเทศและยังส่งผลกระทบทางบวกต่อความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจในหลาย ๆ ด้านทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ การท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า

การโน้มนำดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดความคิดสร้างสรรค์ และการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ หรือที่เรียกว่า “เศรษฐกิจฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative Economy” ที่เชื่อมโยงกับการสร้างความรู้เพื่อใช้ต่อยอดจนเกิดการประยุกต์จุดเด่นต่างๆ ของประเทศในฐานะที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับกรอบเศรษฐกิจใหม่ BCG

จากต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่เป็นฐานสำคัญสำหรับการต่อยอดสู่ “อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (The cultural and creative industries (CCIs))” ตามแนวทางสากลนั้นหมายถึง “การขับเคลื่อนโจทย์หรือการใช้ประโยชน์วัฒนธรรม ศิลปะ และการออกแบบในทางธุรกิจ” ซึ่งประกอบด้วยสาขาต่าง ๆ จำนวน 13 ด้าน และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน) (Creative Economy Agency – CEA) ได้จำแนกหัวข้อของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออกเป็น 15 ด้าน คือ แพทย์แผนไทย, การแพร่ภาพและการกระจายเสียง, แฟชั่น, โฆษณา, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การพิมพ์, งานฝีมือและหัตถกรรม, ซอฟแวร์, ดนตรี, ทัศนศิลป์, บริการด้านสถาปัตยกรรม, ภาพยนตร์, ศิลปะการแสดง, ออกแบบ, และ อาหารไทย

ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนนโยบายของโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Model ของรัฐบาลที่มุ่งใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เป็นตัวขับเคลื่อนและยกระดับเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลได้คาดการว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จะมีบทบาทโดดเด่นมากขึ้น

ในภาควัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์และจะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่องและเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ องค์ความรู้ที่เข้มแข็ง และเกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแข่งขันเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญกว่านั้น ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความรู้สึกร่วมกันของอัตลักษณ์วัฒนธรรม และค่านิยมของสังคม วัฒนธรรม และขับเคลื่อนการเติมโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้สมุทรสงคราม หรือแม่กลองเป็นถิ่นฐานที่ยั่งยืนทั้งในระดับชุมชน และเมือง

Type: Research Video
Length: 11 minutes
Client: มหาวิทยาลัยศิลปากร

Baboonhub

Baboonhub

บริษัทผลิตสื่อที่มีพลังกระตือรือร้น สร้างสรรค์ผลงาน และเล่าเรื่องที่มีความเฉพาะทาง โดยเฉพาะการสื่อสารองค์ความรู้ของผู้คน องค์กร ชุมชน และโครงการ (วิจัย) ระดับประเทศ

Articles: 93