อภิชาติ บุญทาวัน

โรงงานต้นแบบกระบวนการผลิตทางชีวภาพ

ต้นมันสำปะหลังหนึ่งต้น อุตสาหกรรมจะเอาไปใช้จริง ๆ คือแค่แป้งมัน ยังมีส่วนของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถแปรรูปวัดสุเหลือทิ้งได้

Biorefinery หรืออุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ เป็นกระบวนการผลิตแห่งอนาคตที่นำชีวมวล หรือวัตถุดิบที่ได้จากพืช มาใช้เป็นสารตั้งต้น (Feedstock) ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ สารเคมี และพลาสติกชีวภาพ ด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น กระบวนการหมัก การเร่งปฏิกิริยาด้วยเอนไซม์ หรือกระบวนการทางวิศวกรรมเคมี

ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพอย่างมาก เนื่องจากวัตถุดิบชีวมวลเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรจำนวนมาก เช่น มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด ข้าวโพด ดังนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ บุญทาวัน หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จึงได้เลือกวัตถุดิบเหลือทิ้งจากมันสำปะหลัง ซึ่งมีอยู่โดยรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อเข้าสู่กระบวนการ Refinery

อ้างอิงงานวิจัย

ต้นแบบการผลิตพลาสติกชีวภาพทางเลือกชนิดพอลิแล็คติกแอซิดจากมันสำปะหลังเพื่อการใช้ประโยชน์สำหรับบรรจุภัณฑ์

รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ บุญทาวัน หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สนับสนุนทุนวิจัยโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.)

ผลิตโดย บริษัท บาบูนฮับ จำกัด

Baboonhub

Baboonhub

บริษัทผลิตสื่อที่มีพลังกระตือรือร้น สร้างสรรค์ผลงาน และเล่าเรื่องที่มีความเฉพาะทาง โดยเฉพาะการสื่อสารองค์ความรู้ของผู้คน องค์กร ชุมชน และโครงการ (วิจัย) ระดับประเทศ

Articles: 93