ประภาส ปิ่นตบแต่ง

นิยามชาวนาที่เปลี่ยนไป

คำว่า “ชาวนา” มักผูกติดกับคำว่า “ข้าว” แต่ในความเป็นจริง หากชาวนายึดอาชีพปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวในยุคนี้ คงต้องใช้คำว่า “รอดยาก”

แม้ข้าวจะสำคัญต่อสังคมไทยและสังคมโลก แต่ชาวนายังต้องเผชิญความท้าทายด้านราคาตกต่ำ การพึ่งความรู้ปลูกข้าวอย่างเดียวคงไม่พอ ชาวนารุ่นใหม่ต้องพร้อมเป็น “ผู้ประกอบการ”

อ้างอิงงานวิจัย

โครงการทบทวนความรู้และพัฒนาโจทย์เพื่อการปรับตัวของชาวนาไทย

หัวหน้าโครงการ สุภา ใยเมือง
ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง

สนับสนุนการวิจัยโดย สกสว.

ผลิตโดย บริษัท บาบูนฮับ จำกัด ภายใต้การรับทุน “โครงการผลิตสื่อสารคดีดิจิตอลเพื่อสื่อสารงานวิจัย (ปีที่ 2)”

ข้อมูลเพิ่มเติมจากงานวิจัย​

สถานการณ์ข้าวไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตามความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยเฉพาะภายใต้บริบทของปรากฎการณ์โลกาภิวัฒน์ในช่วงศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อโครงสร้างการผลิตและการตลาดของข้าวทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ โครงการวิจัยทบทวนความรู้และพัฒนาโจทย์เพื่อการปรับตัวของชาวนาไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงการผลิตและตลาดข้าว จึงพยายามทบทวนงานวิจัยที่วิเคราะห์ทิศทางการผลิตและตลาดข้าวทั้งระบบในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2549-2559) รวมทั้งการจัดเวทีเครือข่ายชาวนาใน 4 ภูมิภาค เพื่อทำความเข้าใจเรื่องข้าว และการปรับตัวของชาวนาไทยในอนาคต รวมถึงการสร้างกลไกเครือข่ายเพื่อเป็นกลไกในการทำวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิจัยกับชาวนา

จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการปรับตัวของชาวนาไทย สามารถพิจารณาผ่านการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิต การตลาด และนโยบายของข้าวไทย

ข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยพบว่า การปรับตัวของชาวนาสามารถจำแนกได้ตามมิติต่างๆ ดังนี้

  • ชาวนาต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตข้าว การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการผลิตข้าวคุณภาพ และการทำนาอินทรีย์เพื่อรองรับมาตรฐานของสินค้าและความต้องการของผู้บริโภค ไปจนถึงการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการปรับตัวเพื่อสร้างผลผลิตคุณภาพและการบริโภค
  • จากความผันผวนของราคาข้าวในตลาดโลก ทำให้ชาวนาเปลี่ยนแปลงวิถีความเป็นอยู่ รวมถึงช่องทางการรับรู้ข่าวสารที่มีมากขึ้น ชาวนาจึงปรับตัวไปเป็น “ผู้ประกอบการชาวนา” มีความพยายามที่สร้างรูปแบบการพึ่งตนเองและวัฒนธรรมชุมชน ผ่านการวางระบบเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน และการเปลี่ยนผลผลิตไปสู่การแปรรูป และการค้าที่ลดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ชาวนาได้ประโยชน์สูงสุด
  • นโยบายข้าวมีการเปลี่ยนแปลงพร้อมกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ชาวนามีการรวมกลุ่มกันทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติเพื่อปรับตัวตามนโยบายรัฐ
Baboonhub

Baboonhub

บริษัทผลิตสื่อที่มีพลังกระตือรือร้น สร้างสรรค์ผลงาน และเล่าเรื่องที่มีความเฉพาะทาง โดยเฉพาะการสื่อสารองค์ความรู้ของผู้คน องค์กร ชุมชน และโครงการ (วิจัย) ระดับประเทศ

Articles: 93