Cyberbullying

หรือไทยควรเอาจริง “กฎหมาย Cyberbullying”

การกลั่นแกล้งแบบ 24 ชั่วโมง ที่เด็กไทยกำลังตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก แล้วจะมีมาตรการอะไรที่ช่วยปกป้องเด็กจากการกลั่นแกล้งในรูปแบบนี้ได้

งานวิจัยนำข้อกฎหมายต่างประเทศที่เราอาจสามารถนำมาปรับใช้ เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ได้ในอนาคต

อ้างอิงงานวิจัย

หลักการทางกฎหมายของประเทศไทยในการคุ้มครองสิทธิเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกทางสื่อออนไลน์

ดร.ฟ้าใส สามารถ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
รองศาสตราจารย์ คณาทิป ทองรวีวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

สนับสนุนการวิจัยโดย สกสว.

ผลิตโดย บริษัท บาบูนฮับ จำกัด ภายใต้การรับทุน “โครงการผลิตสื่อสารคดีดิจิตอลเพื่อสื่อสารงานวิจัย (ปีที่ 2)”

ข้อมูลเพิ่มเติมจากงานวิจัย​

กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ที่เกี่ยวข้องสุด 3 ฉบับ ได้แก่

  1. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 
  2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 
  3. ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย มาตรา 293 และความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง มาตรา 326- 333

นอกจาก 3 ข้อกฎหมายของไทยที่กล่าวถึงในข้างต้น ยังมีข้อกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยมีส่วนร่วม คือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child 1989) ในปี 2532 ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามไม่ให้มีการใช้สื่อออนไลน์ในการยั่วยุให้เด็กฆ่าตัวตาย

แต่กฎหมายเหล่านี้ อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ภัยไซเบอร์ในการคุ้มครองสิทธิเด็กได้ ดร.ฟ้าใส สามารถ จึงได้ศึกษาเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอะแนะหลักการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งทางสื่ออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

Baboonhub

Baboonhub

บริษัทผลิตสื่อที่มีพลังกระตือรือร้น สร้างสรรค์ผลงาน และเล่าเรื่องที่มีความเฉพาะทาง โดยเฉพาะการสื่อสารองค์ความรู้ของผู้คน องค์กร ชุมชน และโครงการ (วิจัย) ระดับประเทศ

Articles: 93