เราทำอาหารบ่อยขึ้นไหม หลังรู้จักกับโควิด

เราทำอาหารบ่อยขึ้นไหม หลังรู้จักกับโควิด

เมื่อรัฐบาลมีมาตรการล็อคดาวน์ ขอให้ประชาชน Work from home ลดการเดินทาง และห้ามนั่งทานในร้านอาหาร ปรากฏว่าถนนหลายสายในกรุงเทพฯ เงียบเหงา ผู้คนพากันซื้ออาหารกักตุนไว้เพื่อจะได้ลดการออกจากบ้าน

เมื่อต้องอยู่แต่บ้านนาน ๆ บางคนก็ผันตัวไปเป็นแดนเซอร์ใน TikTok ส่วนนึงก็เข้าสู่วงการนักปลูกจนต้นไม้เต็มบ้าน และอีกวงการที่หลายคนสมัครเข้าอยู่ก็ไม่พ้นวงการพ่อครัวแม่ครัวที่ช่วยกันสรรหาเมนูแปลกใหม่มาทำ เพราะไม่สามารถนั่งทานที่ร้านได้ แล้วคุณล่ะทำอาหารบ่อยขึ้นไหม เมื่อต้องอยู่บ้านมากขึ้น

ในปี 2563 Gallup World Poll องค์กรที่ทำ survey และมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก ได้ร่วมมือกับ Cookpad แพลตฟอร์มให้ผู้คนแบ่งปันวัตถุดิบและทิปส์การทำอาหาร ทั้งสองจัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความถี่ในการทำอาหาร เมื่อผู้คนเผชิญการล็อคดาวน์ในช่วงการระบาดของโควิด-19

จากการสอบถามผู้คนทั่วโลกว่าพวกเขาทำอาหารบ่อยกันแค่ไหน ในระหว่าง 1 สัปดาห์ โดย Poll นี้ทำการสำรวจอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2562-2564

ผลปรากฏว่า ในปี 2562 ขณะทั่วโลกยังคงใช้ชีวิตแบบปกติ ไม่ต้องเผชิญกับคำว่าโควิด-19 หรือ new normal พวกเขาทำกับอาหารเฉลี่ยเพียง 6.5 มื้อต่อสัปดาห์เท่านั้น

ย้อนกลับไปอีกนิด ปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลหลายประเทศคุมเข้มสถานการณ์การระบาด ห้ามผู้คนออกจากบ้าน ล็อคดาวน์ทุกอย่าง และห้ามนั่งทานในร้านอาหาร ปรากฏว่าผู้คนทำอาหารกินเอง 6.9 มื้อต่อสัปดาห์เท่านั้น ตัวเลขเพิ่มขึ้นมานิดหน่อยจากเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ยังไปไม่ถึงเลข 7 อยู่ดี

และปี 2564 ที่หลาย ๆ ประเทศได้รับวัคซีน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว พวกเขาทำอาหารกินเองเฉลี่ย 6.7 มื้อต่อสัปดาห์เท่านั้น ตัวเลขตกลงมานิดหน่อย ผู้คนเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติครึ่งนึง และอีกครึ่งก็ยังคงกังวลกับโควิด-19 อยู่นั่นเอง

ในไทย เราได้เห็นหลายคนผันตัวเองมาทำอาหารกันมากขึ้น เข้าออก supermarket หรือตลาด เพื่อหาวัตถุดิบมาทำอาหารที่อยากกิน ทดแทนร้านที่ปิดแล้วไปนั่งกินไม่ได้ แต่สุดท้ายเราก็ยังโหยหาการนั่งกินชาบู หมูกระทะที่ร้านอาหาร

การใช้บริการส่งอาหารจาก Grab, Line Man, Foodpanda และ Robinhood (ไล่ชื่อครบไหมนะ) ที่ช่วยให้เราใช้ชีวิตสะดวกสบายและประหยัดเวลามากกว่า ก็เพราะการกินอาหาร 1 มื้อ ไม่ใช่กินแล้วเสร็จ แต่ยังมีเรื่องการเตรียมวัตถุดิบ การประกอบอาหาร และการเก็บล้างทำความสะอาด ที่อาจใช้เวลาเป็นชั่วโมง

Sutthida Muangrod

Sutthida Muangrod

ผู้ร่วมก่อตั้ง Baboonhub ที่ต้องการเชื่อมช่องว่างระหว่างงานวิจัยเชิงวิชาการ สู่การรับรู้ของสังคมอย่างสร้างสรรค์ บนฐานคิดที่เป็นเหตุและผล ชื่นชอบการมองหาโอกาสใหม่ในการสร้างสรรค์โครงการ และการลงพื้นที่เพื่อนำเรื่องราวออกมาสื่อสาร

Articles: 6