การค้าสัตว์ผิดกฎหมาย

การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย อาจนำมาสู่โรคระบาดระลอกใหม่ในอนาคต

แม้ในขณะนี้ยังไม่มีงานศึกษาใดที่ระบุต้นตอที่ชัดเจนของการระบาด COVID-19 แต่หากย้อนกลับไปเมื่อช่วงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง SARS ระบาดหนักเมื่อราว 10 ปีก่อน กรณีนี้เป็นที่ยืนยันว่า ต้นตอการระบาด มาจากสัตว์ป่าที่ถูกนำมาขายอย่างผิดกฎหมายในตลอดสดของประเทศจีน การกินสัตว์ป่าไม่ใช่กิจกรรมเดียวที่เกิดขึ้น ยังมีอุตสาหกรรมจากหนังสัตว์ และตลาดสัตว์เลี้ยงแบบ Exotic เป็นที่นิยมในกลุ่มชาวจีนที่ใช้โซเชียลมีเดีย ในขณะที่พวกสัตว์เองก็เป็นพาหะของโรคสำคัญต่างๆ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Nanjing Agricultural University เก็บตัวอย่างจากสัตว์กว่า 18 ชนิดพันธุ์ ทั้งสัตว์ในฟาร์มเครื่องหนัง สวนสัตว์ และสัตว์ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ สัตว์จำนวนหนึ่งมักถูกใช้บริโภค เช่น ชะมด แรคคูน อ้น จิ้งจอกแร็กคูน และ เม่น โดยนักวิจัยใช้เทคนิค Metagenomics ในการศึกษาสารพันธุกรรมทั้งหมดของสังคมจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม โดยใช้ตัวอย่างจาก RNA พบว่ามีไวรัสที่ก่อโรคในมนุษย์มากถึง 102 สายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสารคัดหลั่งของสัตว์เหล่านี้ และยังพบไวรัสชนิดใหม่ถึง 65 สายพันธุ์ที่ยังไม่มีข้อมูลในการถิดรหัสพันธุกรรม หรืออีกนัยหนึ่งคือไวรัสที่การแพทย์ปัจจุบันยังไม่รู้จักนั้นเอง ดังนั้นการระบาดของไวรัสครั้งต่อไปอาจมีแนวโน้มที่เชื่อมโยงกับตลาดการซื้อขายสัตว์ป่า
ยกตัวอย่างสัตว์ที่เป็นพาหะก่อโรคได้แก่
– เม่นแคระ ที่นำเชื้อโรคเมอร์ส (MERS) มาแพร่ระบาดในมนุษย์ หรือจิ้งจอกแรคคูนที่เป็นพาหะโรคโคโรนาไวรัสในสุนัขถึง 4 ชนิด เจ้าโคโรนาไวรัสสุนัขนี้มีความใกล้เคียงกับไวรัสที่ติดในมนุษย์ 94% ที่เป็นสายพันธุ์เดียวกันกับที่ระบาดในประเทศมาเลเซียและเกาะเฮติ
– ค้างคาวก็เป็นสัตว์ป่าตัวกลางที่ทำให้ไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV-2 และ SARS-CoV-1 จากที่ระบาดแค่ในสัตว์ สามารถข้ามมาระบาดในคนได้
– ชะมด เป็นพาหะของโรคไวรัสไข้หวัดใหญ่ H9N2 ที่ระบาดในสัตว์ปีกอย่างไก่และเป็ด จนกระทั่งปี 2020 มีรายงานว่า มีผู้ติดเชื้อราว 50 รายที่ติดเชื้อนี้แล้วด้วย หรือหมายความว่า H9N2 สามารถข้ามมาในมนุษย์ได้แล้ว
นักวิจัยกังวลว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้มักปล่อยสารคัดหลั่งปริมาณมากตามกลไกธรรมชาติทั้ง ปัสสาวะ น้ำมูก น้ำลาย จะยิ่งทำให้โรคระบาดต่างๆ ติดต่อมนุษย์ได้ง่ายขึ้นผ่านระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นตลาดค้าสัตว์เหล่านี้ที่เรียกว่า Wet market จึงเป็นแหล่งแพร่กระจายไวรัสอันตราย แต่หลังจากรัฐบาลจีนเห็นความสำคัญของการระบาด COVID-19 แพร่ระบาดในอู่ฮั่น กฎหมายการปราบปรามและควบคุมการซื้อขายสัตว์ป่าของจีนก็เข้มงวดขึ้น แต่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีตลาดซื้อขายสัตว์เช่นกัน แต่ยังไม่มีการใช้กฎหมายที่ชัดเจนในการแก้ปัญหานี้ที่รัดกุม ประเทศไทยก็ยังมีตลาดซื้อขายสัตว์ป่าทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ ความนิยมเลี้ยงสัตว์ป่า ก็ล้วนทำให้โรคระบาดข้ามสายพันธุ์ได้มากขึ้น ตราบใดที่ตลาดค้าสัตว์ป่ายังคงดำเนินต่อไป เราจะยิ่งมีแนวโน้มเจอโรคระบาดใหม่ในอนาคตอย่างแน่นอน
Thanet Ratanakul

Thanet Ratanakul

ผู้ร่วมก่อตั้ง Baboonhub ที่สนใจอ่านงานวิจัยและอยากให้ Research Based Content เป็นที่นิยมมากขึ้น

Articles: 27