ทำอย่างไรการพัฒนาพื้นที่ และการนำเสนออัตลักษณ์ของ “เกาะรัตนโกสินทร์” จะสามารถมอบประสบการณ์อันเป็นมิตรให้กับผู้คนได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน
แสงสว่างที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ภาพลักษณ์ของเมืองในยามค่ำคืนชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งการจดจำเส้นทาง ลดความกังวลในการใช้พื้นที่สาธารณะ และยังส่งเสริมให้การท่องเที่ยวยามค่ำคืนมีชีวิตชีวาด้วย
Baboonhub ออกกองไปถ่ายรอบเกาะรัตนโกสินทร์ 4 วัน เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของย่านเก่า และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะเหนื่อย แต่สนุก และเปิดโลกกัน
- อ.ชัชชาติ สิทธิพันธ์ | นโยบายของ กทม. ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะผ่านกระบวนการวิจัย
- ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์ KMUTT | อาจารย์เป็นเจ้าของโครงการวิจัย และร่วมจัดงานนี้ขึ้น
- ทีมจาก London School of Economics | กระบวนการออกแบบแสงผ่าน Social Research
- คนในชุมชน | สะท้อนประวัติศาสตร์ และความต้องการใช้งานในปัจจุบัน
เราออกถ่ายทั้งกลางวัน และตอนกลางคืนรอบเกาะ จัดไปทุก landmarks ทั้งวัดอรุณ ย่านวัดเทพธิดาราม ป้อมมหากาฬ สะพานพุทธ โลหะปราสาท
โครงการนี้ทำให้เรามอง “ไฟกลางคืน” ไม่เหมือนเดิม มีหลายนัยนะในเชิงจิตวิญญาณชุมชนและเชิงอรรถประโยชน์
“ไฟสว่าง” อาจไม่ได้ทำให้คนรู้สึกปลอดภัย แต่อาจกีดกันแบ่งเส้นการใช้สอย มนุษย์ต้องการแสงพอเหมาะเพื่อให้เกิดกิจกรรมของชีวิต สร้างอารมณ์ความรู้สึก ที่รัฐควรให้ความสำคัญในการพัฒนามิติที่ละเอียดอ่อนนี้ด้วย