แม้จะแล้งแค่ไหน คนกรุงเทพฯ ยังเปิดก๊อก มีน้ำใช้อยู่ดี แต่ความเคยชินนี้อาจอยู่ได้ไม่นาน เพราะในอนาคตสถานการณ์น้ำอาจเข้าขั้นวิกฤต
ประชากรเพิ่มมากขึ้น แต่น้ำที่สำรองไว้ลดลงจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นสัญญาณเตือนว่า เราควรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้น้ำตั้งแต่วันนี้
อ้างอิงงานวิจัย
โครงการแนวโน้มทางประชากรและความต้องการน้ำประปาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาร์ค เฟิลเคอร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรนงค์ สกุลศรี
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
สนับสนุนการวิจัยโดย สกสว.
ผลิตโดย บริษัท บาบูนฮับ จำกัด ภายใต้การรับทุน “โครงการผลิตสื่อสารคดีดิจิตอลเพื่อสื่อสารงานวิจัย (ปีที่ 2)”
ข้อมูลเพิ่มเติมจากงานวิจัย
การศึกษาเรื่องแนวโน้มประชากรและความต้องการน้ำประปาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการการประเมินความต้องการน ้าทั งภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อหาแนวทางในการประเมินความต้องการน้ำของผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ในการศึกษาครั้งนี้ การทบทวนเอกสารครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ในการพยากรณ์ความต้องการน้ำและนำวิธีการที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมมาทำการประเมินความต้องการน้ำประเภทที่อยู่อาศัยในอนาคตของพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยการจำลองสถานการณ์ด้านประชากรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยข้อค้นพบที่จะได้จากการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดหนดนโยบายเพื่อการบริการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและนำแนวทางที่ได้จากการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการประเมินความต้องการน้ำในอนาคต
ผลจาการศึกษาวิเคราะห์ปริมาณความต้องการน้ำ ในปี 2018-2038 โดยการสร้างภาพจำลองสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายใต้สมมติฐาน 3 ระดับ
- ผลการคาดการณ์ระดับปานกลาง พบว่าความต้องการน้ำจะเพิ่มขึ้น จาก 674 ล้านลูกบาศก์เมตรในปี 2018 เป็น 754 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2038 โดยความต้องการน้ำเฉลี่ยต่อปีจะเท่ากับ 177 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือสูงขึ้นร้อยละ 11.9 ในปี 2038 เมื่อเทียบกับปี 2018
- ในการคาดการณ์ระดับสูงผลการวิเคราะห์พบว่า ความต้องการน้ำในปี 2038 จะสูงกว่าปี 2018 ร้อยละ 14.9 หรือเพิ่มขึ้นอีก 101 ล้านลูกบาศก์เมตร
- สำหรับผลการวิเคราะห์การคาดการณ์ระดับต่ำพบว่า ความต้องการน้ำจะเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 8.6 ในปี 2038 หรือเพิ่มขึ้นอีก 58 ล้านลูกบาศก์เมตรจากปี 2018