โดรนแปลอักษร

Swarm Drone โดรนแปลอักษร โดยคนไทย

โดรนแปลอักษร

Swarm Drone โดรนแปลอักษร โดยคนไทย
เราเคยเห็นโดรนที่บินบนท้องฟ้าเป็นพัน ๆ ลำแล้วหรือยังอาจจะเคยเห็นช่วงกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศจีน ที่ฝูงโดรนได้แปลอักษร จนสร้างความฮือฮามาแล้ว ซึ่งในประเทศไทยเราก็ทำได้เช่นกัน แต่กว่าจะถึงจุด ๆ นี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เราจะมาทำความรู้จักกับโดรนแปลอักษรให้มากขึ้นกันดีกว่า

โดรน

“โดรนแปลอักษร” แตกต่างจากโดรนทั่วไป เพราะซอฟต์แวร์ที่ควบคุมโดรนจำนวนหลาย ๆ ลำกับซอฟต์แวร์ที่ควบคุมโดรนลำเดียว ก็ต่างกันมากในเรื่องของความยากที่จะประดิษฐ์ขึ้นมาหรือสร้างขึ้นมา เพื่อให้เกิดความสวยงามบนท้องฟ้าให้เราได้เห็นกัน

โดรน

การจะทำให้โดรนลอยไปสู่บนท้องฟ้าได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องศึกษาการเขียนโค้ดและกระบวนการผลิต ต้องใช้เวลานานนับปี มีทั้งเรื่องความผิดพลาด ระบบไม่เสถียร ก็ต้องคอยปรับแก้กันอยู่เสมอ สิ่งที่เด็ก ๆ และเยาวชนในทีม มีความรู้และเห็นอุปกรณ์ที่ต่างประเทศทำได้ จึงทำให้เกิดแรงบัลดาลใจในการนำอุปกรณ์มาเขียนเป็นโปรแกรม เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้คุยกัน นี่เองจึงเป็นจุดกำเนิดของ #โดรนแปลอักษรเมืองไทย เมื่อเด็ก ๆ เยาวชนทุกคนในทีมทำได้และมีความชอบในการทำโดรนแปลอักษรขึ้นมา สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับก็ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ไปถึงฝันที่เขาอยากทำ

โดรน

การจะได้โดรนแปลอักษรสักตัวหรือร้อยตัวนั้น เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความสามารถ ใช้ทักษะความชำนาญ การออกแบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมไปถึงกระบวนการผลิตออกมาเป็นตัวโดรนและต้องมีความชอบในตัวโดรนแปลอักษรด้วย สิ่งที่ทำให้เด็ก ๆ เยาวชนในทีมมีเป้าหมายร่วมกัน เพราะเด็ก ๆ และเยาวชนกลุ่มนี้มองเห็นว่าโดรนเป็นอนาคต เป็นเทคโนโลยีที่ในอนาคตก็ต้องมา และยังเป็นสิ่งที่พัฒนาไปอีกต่อเนื่อง ไปอีกยาวไกล และตัวโดรนก็ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกเยอะ

โดรน

การจะบินโดรนแปลอักษรในแต่ละครั้งจะต้องมีความแน่ใจ ว่าตัวโดรนมีการทำงานที่แม่นยำ และปลอดภัยก่อนการบินจริง โดรนทุกตัวจะถูกตั้งโปรแกรมเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้บินได้อย่างปลอดภัยแม้เกิดเหตุขัดข้อง และโดรนสามารถบินกลับมาได้ ต้องมีการออกแบบ รูปแบบการบินว่าต้องการบินแปรอักษรเป็นรูปร่างลักษณะอย่างไร คีย์เวิร์ดของการผลิตโดรนแปลอักษร ก็คือโดรนจะต้องมีระยะการบินที่นานที่สุด และมีการสร้างแรงต้านที่น้อยที่สุด เมื่อออกแบบเสร็จก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งกระบวนการผลิตต้องเลือกวัสดุที่มีความเบา เพื่อที่จะให้กำลังมอเตอร์ของโดรน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะต้องคํานึงถึงความสวยงาม ความต่อเนื่องของรูปแบบการแปรอักษรด้วย

โดรน

นอกจากเรื่องความแม่นยำของตัวโดรนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสภาพอากาศอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นลม ฝน รวมถึงหากบินกลางแจ้ง ความเร็วลมที่ปลอดภัยอยู่ที่ไม่เกิน 20 Knot และในอนาคตเชื่อว่าการพัฒนาโดรน ยังสามารถไปได้อีกไกล สูงสุดของสมากีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับคือ Swarm โดรน สิ่งต่อไปที่จะพัฒนา คือโทรศัพท์ของเราที่ใช้อยู่ จะถูกพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ด้วยการใช้คลื่นโทรศัพท์มาเป็นตัวรีโมทคอนโทรลแทน เป็นอีกขั้นของการพัฒนาที่สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับเราไม่หยุดแน่นอน

โดรน

โดรนแปลอักษรต้องใช้โดรนจำนวนหลายลำ เพื่อที่จะขึ้นไปโชว์บนท้องฟ้า ให้เราเห็นเป็นรูปต่าง ๆ ก็เหมือนกันกับการผลิตโดรนพวกนี้ขึ้นมา ก็จะต้องใช้จำนวนคนหลาย ๆ คนเช่นกัน ทั้งเขียนโค้ด ออกแบบตัวโดรน กระบวนการผลิต ทุกอย่างล้วนต้องใช้ทีมงานที่พร้อมใจกัน เพื่อให้ไปถึงเป้ามายที่มีร่วมกัน ที่นี่เต็มไปด้วนเยาวชน คนรุ่นใหม่ มีทั้งหลากหลายวิชา หลากหลายอายุ และสิ่งสำคัญที่เด็ก ๆ เยาวชนเหล่านี้อยู่กันอย่างมีความสุขและก็ไม่จำเป็นต้องมีคนมาคุมงาน เพราะผลิตภัณฑ์ที่ขายได้เอากลับมาที่สมาคมครึ่งหนึ่ง เพื่อเอามาพัฒนาคน มาช่วยเหลือคน อีกครึ่งหนึ่งให้เด็ก ๆ เยาวชนไปแบ่งกัน นี่คือสิ่งที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เพราะไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน 

การพัฒนาของโดรนแปลอักษร จากทีม RCSA Drone หรือสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับโดยคนไทย ที่ล่าสุดได้ไปแสดงโชว์ที่ประเทศเขมร ทุกลำดับขั้นล้วนพัฒนาทั้งคน ระบบซอฟต์แวร์ การเขียนโค้ด รวมไปถึงขั้นตอนการผลิต ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ในระยะเวลารวดเร็ว และเราจะได้เห็นการพัฒนาของสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับที่ไปไกลกว่านี้ในอนาคตแน่นอน

นักเขียน

แนน

ฐิติพร มณีแสง (แนน)

Thitiporn Maneesang

Thitiporn Maneesang

Project Coordinator ที่ถนัดการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คนกับข้อมูล ชอบพูดคุยแลกเปลี่ยนสิ่งใหม่ ๆ และมีความสนใจในการถ่ายทอดเรื่องราวเชิงพื้นที่

Articles: 9