วิดีโอสื่อสารงานวิจัย (Research Video)
มีงานวิจัยใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ล้วนสามารถนำมาปรับใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนในสังคม แต่กลับคนมีจำนวนน้อยนักที่รู้ว่านักวิจัยกำลังทำอะไรอยู่ เพราะงานวิจัยส่วนใหญ่ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะในระดับที่คนทั่วไปในสังคมเข้าใจ
การสื่อสารงานวิจัยจึงจำเป็นอย่างยิ่งยวด เพื่ออธิบายข้อค้นพบอย่างถูกต้องและชัดเจนที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องวิชาการจนชวนสับสน แต่ต้องกระตุ้นให้ผู้ชมเห็นถึงความสำคัญของการค้นหาความจริงผ่านงานวิจัย เพราะเราเข้าใจว่า การตระหนักรู้ของสังคม (Public awareness) เป็นอีกหนึ่งขั้นบันไดของความสำเร็จงานวิจัยที่ไม่ควรมองข้าม
เรามีประสบการณ์ในการถ่ายทอดและสื่อสารงานวิจัยมานานกว่า 5 ปี โดยได้รับความไว้วางใจจากองค์กรด้านวิชาการระดับประเทศ เรามีความละเอียดในการศึกษาเอกสารวิชาการ ถ่ายทำในสถานที่จริง นำเสนอผ่านกราฟฟิค และตัดต่อโดยไม่ละทิ้งความถูกต้องของเนื้อหา แต่ต้องเข้าใจง่ายสำหรับผู้ชมทั่วไปให้เข้าถึงแก่นแท้ของงานวิจัย
หนึ่งในผลงานของเราเผยแพร่ในเว็บไซต์ Research Cafe ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยงานอิสระภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เราสื่อสารงานวิจัยทั่วประเทศไทย จำนวนกว่า 150 ตอน เพื่อให้เห็นถึงความสามารถของนักวิจัย และงานวิจัยของไทย
ตัวอย่างผลงาน
โรงงานต้นแบบกระบวนการผลิตทางชีวภาพ
ต้นมันสำปะหลังหนึ่งต้น อุตสาหกรรมจะเอาไปใช้จริง ๆ คือแค่แป้งมัน ยังมีส่วนของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถแปรรูปวัดสุเหลือทิ้งได้
อุตสากรรมยานยนต์ไฟฟ้า EV Truck สู่ตลาดโลก
เมื่อเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) เริ่มเข้าแทนที่เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน แต่องค์ความรู้ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอกับรถทุกประเภทโดยเฉพาะรถบรรทุก ซึ่งถือเป็นภาคการขนส่งสินค้าที่มีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ
“เสน่ห์สิมิลัน” บนสมดุลการท่องเที่ยว
ปริมาณขยะในทะเลสัมพันธ์กับจำนวนนักท่องเที่ยว คนยิ่งมาก ยิ่งแย่งชิงทรัพยากร ท้ายสุดก็ไม่มีใครได้ประสบการณ์ดีๆ กลับไป แถมทิ้งขยะไว้เป็นที่ระลึกอีก
กรุงเทพฯ น้ำไม่พอใช้ใน 20 ปีข้างหน้า
แม้จะแล้งแค่ไหน คนกรุงเทพฯ ยังเปิดก๊อก มีน้ำใช้อยู่ดี แต่ความเคยชินนี้อาจอยู่ได้ไม่นาน เพราะในอนาคตสถานการณ์น้ำอาจเข้าขั้นวิกฤต
หรือไทยควรเอาจริง “กฎหมาย Cyberbullying”
การกลั่นแกล้งแบบ 24 ชั่วโมง ที่เด็กไทยกำลังตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก แล้วจะมีมาตรการอะไรที่ช่วยปกป้องเด็กจากการกลั่นแกล้งในรูปแบบนี้ได้
นิยามชาวนาที่เปลี่ยนไป
คำว่า "ชาวนา" มักผูกติดกับคำว่า "ข้าว" แต่ในความเป็นจริง หากชาวนายึดอาชีพปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวในยุคนี้ คงต้องใช้คำว่า "รอดยาก"
วิจัยยกระดับ “ปลาร้า” ให้โกอินเตอร์
ถ้าวันหนึ่ง "ปลาร้า" ไม่ได้วางอยู่เพียงแค่หลังครัว แต่อยู่บนโต๊ะอาหารที่คุณจะ "โรย" เพิ่มรสชาติเมื่อไหร่ก็ได้
ข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำ
ข้าวยิ่งนุ่ม ยิ่งหอม น้ำตาลก็มากตาม ในยุคที่เทรนด์อาหารสุขภาพมาแรง ผลิตภัณณ์จากข้าวก็ควรพัฒนาด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อสุขภาพ