ประเทศไทยถูกขนานนามว่าเป็น Medical Hub ของอาเซียน แต่จริง ๆ แล้วเราโดดเด่นเรื่องการให้บริการ ทั้งยังนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนมากในทุก ๆ ปี ยิ่งในสถานการณ์ที่การระบาดของโรคจะเป็น New normal ประเทศไทยจะต้องก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตนวัตกรรมทางสุขภาพและการแพทย์ด้วยตนเอง
ตัวอย่างโจทย์วิจัย
- ยา ชีววัตถุ ชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilars) วัคซีน เซลล์บําบัด Targeted Therapy ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากธรรมชาติ ชุดตรวจวินิจฉัยที่เป็น Niche Area ของประเทศหรือ Regional เพื่อการขึ้นทะเบียน อย.
- การวิจัยขั้นแนวหน้าด้าน Biomedical Science, Biomedical Engineering และ Bioengineering ที่มีภาคเอกชนเป็นผู้สนับสนุน (Sponsor) หรือเป็นผู้ใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา (Licensees)
- วิธีการรักษาด้วยยีน/เซลล์ (Advanced Gene and Cell Therapy) ได้แก่ โรคทางพันธุกรรม โรคมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นต้น
- การแพทย์แม่นยํา (ที่ไม่ใช่โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก โครงการ Genomics Thailand โดย สวรส.)
- วัสดุและเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ภายในร่างกาย (Invasive)
- อุปกรณ์การแพทย์มูลค่าสูง ในกลุ่มอํานวยความสะดวก(Assistive) และป้องกัน (Preventive)
- ระบบนําส่งยาแบบมุ่งเป้า (Targeted Delivery System)
สัมภาษณ์
ศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์
ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
ผลิตโดย บริษัท บาบูนฮับ จำกัด