หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

สถานการณ์ด้านกำลังคนของประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทาย ยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด และโลกเผชิญกับวิกฤตโรคระบาด ทำให้กำลังคนในสาขาเฉพาะเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูลและนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Analysts and Scientists) ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (AI and Machine Learning Specialists) ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Specialists) ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและกลยุทธ์ดิจิทัล (Digital Marketing and Strategy Specialists)

ไทยจึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถของกำลังคนในด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม การแพทย์ รวมถึงด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) ทั้งศิลปะ กีฬา การท่องเที่ยว ซึ่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม หรือ บพค. เพื่อสนับสนุนกำลังคน โดยเฉพาะนักวิจัย ให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น และเท่าทันทักษะองค์ความรู้ในโลกเทคโนโลยี

บพค.
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม

PMUB
Program Management Unit for Human Resources & Institutional Development, Research, and Innovation

บพค. เป็นหน่วยงานจัดสรรทุนด้านการพัฒนากำลังคนในสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และนโยบายของรัฐบาล รวมถึงการให้ทุนการศึกษา ทุนสนับสนุนนักวิจัยและบุคลากรอื่นหลังปริญญา ทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยและนวัตกรรม และทุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. สนับสนุนระบบการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงของประเทศแบบ demand driven ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจ (disruption) โลก
  2. สนับสนุนส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า สนับสนุนระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

รูปแบบการจัดสรรทุนของ บพค.

การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ของ บพค. ครอบคลุมกำลังคน 2 ด้าน ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายสำคัญของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ได้แก่

  1. กลุ่มคนที่ทำหน้าที่สร้างความรู้และแก้ปัญหาที่นำไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ (Brain power)
  2. กลุ่มคนที่กำลังขับเคลื่อนงานในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามบทบาทและภารกิจขององค์กร ซึ่งรวมทั้งกลุ่มคนที่มีทักษะสูง และกลุ่มคนที่เป็นแรงงานขับเคลื่อนผลผลิต (Human resources)

พบค. ให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนให้มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ รวมถึงการมีทักษะเฉพาะทางใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และการสร้างองค์ความรู้จากงานวิจัยในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพ โดยให้ทุนในแผนงานสำคัญ คือ

  • โครงการสนับสนุนการทำวิจัยและนวัตกรรม ระดับหลังปริญญาเอก หลังปริญญาโท และบัณฑิตศึกษา รองรับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์
  • โครงการส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการหุ่นยนต์สำหรับทุุกคน
  • โครงส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้าและการวิจัยพื้นฐานที่่ประเทศไทยมีศักยภาพ ได้แก่ เทคโนโลยีควอนตัม การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมอวกาศ ดาราศาสตร์
  • โครงการยกระดับคุณภาพและสมรรถภาพของทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ด้วยมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์
  • โครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติ เพื่อยกระดับความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไทย (Global partnership fund)
  • โครงการ Frontier Research และการพัฒนาระบบการสร้างความสามารถเพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอโครงการเบื้องต้นของ บพค.

การยื่นขอเสนอโครงการให้ บพค. สามารถทำได้ผ่านระบบสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) https://nriis.go.th/www/ ซึ่งเป็นระบบกลางของประเทศในการบริหารภาพรวมของการวิจัยและนวัตกรรม โครงการวิจัย นักวิจัย แผนงานวิจัยและโครงสร้างพื้นฐานของระบบวิจัย โดยมีเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอโครงการ คือ

  1. เป็นไปตามเงื่อนไขวัตถุประสงค์และขอบเขตที่ประเภททุนนั้นกำหนด
  2. แสดงเหตุผล วัตถุประสงค์เป้าหมาย วิธีการวิจัย และแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน แสดงถึงแนวคิดที่ใหม่ วิธีการดำเนินงานมีความเหมาะสม และมีแผนการดำเนินงานที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตาม เวลาที่เสนอไว้
  3. ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างประจักษ์ มีประสบการณ์การบริหารจัดการงานวิจัยและการดำเนินการวิจัย และคาดว่าจะสามารถปฏิบัติงานและควบคุมการวิจัยได้ตลอดเวลาการรับทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
  4. นักวิจัยจากแต่ละสถาบันที่ร่วมโครงการจะต้องมีหนังสือรับรอง (Letter of support) จากสถาบันต้นสังกัด ที่ลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามของสถาบัน เช่น อธิการบดีหรือ ผู้ได้รับมอบอำนาจ หรือ ผู้รับผิดชอบการบริหารงานสถาบันนั้น โดยควรมีใจความสำคัญ ดังนี้
    • สถาบันจะสนับสนุนนักวิจัยในสังกัดให้เข้าร่วมโครงการ
    • อธิบายบทบาทหน้าที่ของนักวิจัยในสังกัดในการเข้าร่วมโครงการ และประโยชน์ที่นักวิจัย หรือสถาบันคาดว่าจะได้รับจากโครงการ
    • อนุญาตให้คณะผู้วิจัยจากแต่ละสถาบันที่อยู่ภายใต้โครงการเข้าถึงห้องปฏิบัติการ เครื่องมือ หรือข้อมูลเพื่อการวิจัย และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) ต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานวิจัยภายใต้โครงการ
    • สถาบันจะร่วมสนับสนุนให้โครงการนี้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนอย่างไร

นักวิจัยที่สนใจยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยกับ บพค. สามารถติดตามข้อมูลและข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Website: https://pmu-hr.or.th/
Facebook: https://www.facebook.com/PMUBTHAILAND
YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCTylJU_JdZR4hcvrZAjinvw

ตัวอย่างผลงาน

อภิชาติ บุญทาวัน

โรงงานต้นแบบกระบวนการผลิตทางชีวภาพ

ต้นมันสำปะหลังหนึ่งต้น อุตสาหกรรมจะเอาไปใช้จริง ๆ คือแค่แป้งมัน ยังมีส่วนของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถแปรรูปวัดสุเหลือทิ้งได้

ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ

เศรษฐกิจหมุนเวียน ตอบโจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อม

การวางแผนและออกแบบเพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาและสร้างคุณค่าจากทรัพยากรที่มีในระบบให้ได้มากที่สุด

ศันสนีย์ ไชยโรจน์

New Frontier กลุ่มสุขภาพและการแพทย์

ประเทศไทยถูกขนานนามว่าเป็น Medical Hub ของอาเซียน แต่จริง ๆ แล้วเราโดดเด่นเรื่องการให้บริการ ทั้งยังนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนมากในทุก ๆ ปี

Bangkok

ร่วมสร้างนิยามใหม่ พัฒนางานวิจัยไปพร้อมกับเรา บพข.

นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่สุด ประเทศต้องการโจทย์วิจัยและนวัตกรรมที่ชาญฉลาด ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้สูงขึ้น

สิรี ชัยเสรี

โจทย์ท้าทาย บพข. ปล่อยศักยภาพวิจัยไทยสู่พาณิชย์

บพข. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะเข้ามาลดความเสี่ยงการลงทุน ลดช่องว่างของภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการวิจัยในต่างประเทศ

Agriculture Drone

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

บพข. เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนแผนงานความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการวิจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

Panus

อุตสากรรมยานยนต์ไฟฟ้า EV Truck สู่ตลาดโลก

เมื่อเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) เริ่มเข้าแทนที่เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน แต่องค์ความรู้ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอกับรถทุกประเภทโดยเฉพาะรถบรรทุก ซึ่งถือเป็นภาคการขนส่งสินค้าที่มีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ

Kakanang Kharmtart

Kakanang Kharmtart

เด็กเอกไทยที่สนใจการจัดการองค์ความรู้ ผ่านงานสื่อสารในช่องทางที่หลากหลาย โดยเชื่อว่าการสื่อสารงานวิชาการเปรียบเสมือนปีกผีเสื้อเล็ก ๆ ที่สร้างแรงกระเพื่อมให้สังคมขับเคลื่อนสู่อนาคตที่ดีกว่าเดิม

Articles: 3