Agriculture Drone

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ไทยได้มีการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม ทั้งเชิงโครงสร้างและระบบการทำงาน เนื่องจากแต่เดิมระบบการบริหารและจัดการทุนของไทยในแต่ละหน่วยงานมีภารกิจของตนเองแบบแบ่งส่วน ไม่ครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งรัฐมีเป้าหมายขับเคลื่อนไทยสู่ประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ผลักดันให้ประเทศไทยสามารถสร้างนวัตกรรมในตลาดโลก และเกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)

รัฐจึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนแผนงานที่มีความร่วมมือหรือการร่วมลงทุนกับผู้ใช้ประโยชน์ อาทิ SMEs และภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข. จึงเกิดขึ้น

บพข.
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

PMUC
Program Management Unit for Competitiveness​

บพข. เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ เพื่อทำหน้าที่จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ รวมถึงทุนสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างตลาดนวัตกรรม การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาแพลตฟอร์มทางนวัตกรรมในภาคการผลิตและภาคบริการ

นอกจากนี้ หน่วยงานทำหน้าที่สนับสนุนทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการ เพื่อการให้บริการด้านคุณภาพและการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนทุนวิจัยแบบมีส่วนร่วม ดึงภาคเอกชนและภาคีส่วนต่าง ๆ ที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ เข้ามาร่วมมือ ร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมรับผิดชอบ (Co-ownership and Joint Accountability) ร่วมยกระดับการพัฒนา และสร้างผลลัพธ์ร่วม เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันใน ระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

การสนับสนุนทุนวิจัยของ บพข. จะเน้นไปที่ 2 แผนงาน ได้แก่

  1. กลุ่มแผนงานการผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมูลค่าสูงในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม และระบบคมนาคมแห่งอนาคต
  2. กลุ่มแผนงานสนับสนุนกลไกการเร่งรัด ขับเคลื่อนนวัตกรรมให้ไปสู่เชิงพาณิชย์ อาทิ การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพหรือโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการขยายขนาดผลงานวิจัย หรือการร่วมลงทุนกับพันธมิตรนานาชาติ

ตัวอย่างงานวิจัยที่ได้รับทุน บพข.

ยานพาหนะไร้คนขับ (โดรน) สำหรับการเกษตรแม่นยำ
บริษัท เอชจีโรโบติกส์ จำกัด

สินค้าทางการเกษตรมักประสบปัญหางการควบคุมคุณภาพและปริมาณของผลผลิต เช่น คุณภาพของอ้อยต่ำกว่างเกณฑ์ มีความหวานไม่คงที่ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไม่คงที่ และความสามารถทางการแข่งขันลดต่ำลง รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ หัวหน้าโครงการ Field Practice Solutions (FPS) มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ และยานพาหนะไร้คนขับ มาต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้จริงในการอุตสาหกรรมการผลิตอ้อยและน้ำตาล 

แพลตฟอร์มบริการ FPS (Field Practice Solutions) ที่พัฒนาโดยคนไทยนี้ ตอบโจทย์สำหรับใช้งานในภูมิอากาศของไทย โดยช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรพืชไร่ และเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มโรงงานแปรรูปในห่วงโซ่อุปทานด้านอุตสาหกรรมเกษตรด้วย

รถบรรทุกไฟฟ้าดัดแปลง
บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด

ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนผ่านสู่รถ EV ระหว่าง 3-5 ปีนี้ การสนับสนุนให้ใช้รถไฟฟ้าดัดแปลงนับเป็นอีกทางเลือกที่มีความคุ้มค่า เนื่องจากสามารถนำรถเดิมที่มีอยู่แล้วมาดัดแปลงเป็นรถไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูกกว่าการซื้อรถใหม่ โดยเฉพาะในภาคผู้ประกอบการธุรกิจรถบรรทุก หากต้องเปลี่ยนเป็นรถ EV ใหม่ทั้งหมดจะต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก

โครงการสร้างรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าต้นแบบของคนไทย ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสถานีชาร์จไฟฟ้า สถานีทดสอบและบริการซ่อมบำรุง เกิดเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้บริหารกลุ่มรถและการพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า โดย บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด และ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ได้ร่วมกันวิจัย พัฒนา และสร้างรถบรรทุกไฟฟ้าดัดแปลงจากระบบสันดาปให้เป็นระบบไฟฟ้า

ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการขนส่งสาธารณะ ต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบา
บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน)

นโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ มุ่งเป้าให้ไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) บพข. จึงสนับสนุนทุนงานวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการขนส่งสาธารณะ ทั้งทางบก ทางน้ำ และระบบราง

“ต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบา” คมนาคมพลังงานสะอาดที่ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศไทย เพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมกับ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) พัฒนาด้านระบบขนส่งทางรางที่ผลิตได้ในประเทศไทย ทดแทนการนำเข้าขบวนรถไฟ และอะไหล่จากต่างประเทศ และเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในประเทศสามารถวิจัย พัฒนา และออกแบบการผลิตขบวนรถไฟฟ้า และชิ้นส่วนอะไหล่ต่าง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงได้เองภายในประเทศ และเพื่อรองรับความต้องการด้านการขนส่งทางรางในอนาคต

สำหรับนักวิจัยที่สนใจขอทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์กับ บพข. สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม เกณฑ์การพิจารณา และวิธีการขอยื่นเสนอโครงการได้ที่

Website:  https://pmuc.or.th/
Facebook: https://www.facebook.com/pmuc.researchfunding/
YouTube: https://www.youtube.com/@pmu-cofficial4828

ตัวอย่างผลงาน

อภิชาติ บุญทาวัน

โรงงานต้นแบบกระบวนการผลิตทางชีวภาพ

ต้นมันสำปะหลังหนึ่งต้น อุตสาหกรรมจะเอาไปใช้จริง ๆ คือแค่แป้งมัน ยังมีส่วนของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถแปรรูปวัดสุเหลือทิ้งได้

ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ

เศรษฐกิจหมุนเวียน ตอบโจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อม

การวางแผนและออกแบบเพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาและสร้างคุณค่าจากทรัพยากรที่มีในระบบให้ได้มากที่สุด

ศันสนีย์ ไชยโรจน์

New Frontier กลุ่มสุขภาพและการแพทย์

ประเทศไทยถูกขนานนามว่าเป็น Medical Hub ของอาเซียน แต่จริง ๆ แล้วเราโดดเด่นเรื่องการให้บริการ ทั้งยังนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนมากในทุก ๆ ปี

Bangkok

ร่วมสร้างนิยามใหม่ พัฒนางานวิจัยไปพร้อมกับเรา บพข.

นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่สุด ประเทศต้องการโจทย์วิจัยและนวัตกรรมที่ชาญฉลาด ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้สูงขึ้น

สิรี ชัยเสรี

โจทย์ท้าทาย บพข. ปล่อยศักยภาพวิจัยไทยสู่พาณิชย์

บพข. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะเข้ามาลดความเสี่ยงการลงทุน ลดช่องว่างของภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการวิจัยในต่างประเทศ

Agriculture Drone

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

บพข. เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนแผนงานความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการวิจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

Panus

อุตสากรรมยานยนต์ไฟฟ้า EV Truck สู่ตลาดโลก

เมื่อเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) เริ่มเข้าแทนที่เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน แต่องค์ความรู้ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอกับรถทุกประเภทโดยเฉพาะรถบรรทุก ซึ่งถือเป็นภาคการขนส่งสินค้าที่มีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ

Baboonhub

Baboonhub

บริษัทผลิตสื่อที่มีพลังกระตือรือร้น สร้างสรรค์ผลงาน และเล่าเรื่องที่มีความเฉพาะทาง โดยเฉพาะการสื่อสารองค์ความรู้ของผู้คน องค์กร ชุมชน และโครงการ (วิจัย) ระดับประเทศ

Articles: 94